EASY E-Receipt 2568: เช็กเงื่อนไข ลดหย่อนภาษี สินค้าใดบ้าง?
รู้หรือยัง!? แค่ช้อปก็ได้ลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 50,000 บาท! กับมาตรการภาษี 2568ที่หลายคนตั้งตารออย่าง EASY E-Receipt ที่กลับมาอีกครั้งในชื่อ EASY E-Receipt 2.0 สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท ซึ่งในปีนี้มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา สำหรับใครที่ตั้งตารอโครงการ EASY E-Receipt 2.0 วันนี้ MBK Center จะพาไปจดเช็กลิสต์สินค้าและบริการที่เข้าร่วมโครงการ EASY E-Receipt 2.0 ใครไม่อยากพลาดโอกาสช้อปลดหย่อนภาษีแบบนี้ ต้องห้ามพลาด!
EASY E-Receipt 2568 คืออะไร?
EASY E-Receipt 2568 หรือโครงการ EASY E-Receipt 2.0 เป็นมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย โดยให้ช้อปสินค้าที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 50,000 บาท เพื่อนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามจำนวนที่จ่ายจริง
สิทธิประโยชน์ของโครงการ EASY E-Receipt ลดหย่อนภาษี 2568
สำหรับสิทธิประโยชน์ของโครงการ EASY E-Receipt 2.0 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 โดยผู้ที่ใช้สิทธินี้ จะต้องเป็นผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น และจะได้รับวงเงินลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
โดยจะต้องซื้อสินค้าจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบได้ (e-Tax Invoice) หรือผู้ประกอบการทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการ EASY E-Receipt 2.0 และสามารถออกใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) จากระบบของกรมสรรพากร ซึ่งในปีนี้ทางรัฐบาลได้แบ่งการใช้จ่ายออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
วงเงินส่วนแรก 30,000 บาท
สำหรับค่าซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคต่าง ๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าแบรนด์เนม ของใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ค่าซ่อมรถ หนังสือ เป็นต้น โดยสามารถใช้บริการได้ทั้งร้านค้าที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า (ร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม - VAT) และร้านค้าทั่วไป หรือร้านโชว์ห่วยที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะต้องเป็นร้านค้าที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูปแบบ (e-Tax Invoice)หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นหลักฐานได้
วงเงินส่วนที่สอง 20,000 บาท
สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือบริการจาก OTOP วิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยในการซื้อสินค้า OTOP หักลดหย่อนภาษี จะต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูปแบบ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นหลักฐาน และที่สำคัญคือ ในใบกำกับภาษีหรือใบรับ จะต้องมีข้อความที่แสดงว่า เครื่องหมายนั้นหมายถึงสินค้า OTOP อยู่ด้วย เช่น OTOP, โอทอป, One Tambon One Product เป็นต้น
เงื่อนไขการรับสิทธิ์ EASY E-Receipt ลดหย่อนภาษี 2568
สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสิทธิประโชน์ในการลดหย่อนภาษีกับโครงการ EASY E-Receipt 2.0 สามารถเช็กเงื่อนไขการรับสิทธิ์ได้ที่นี่!
- การซื้อสินค้าหรือบริการ ต้องเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568
- เป็นสินค้าหรือบริการที่ได้รับใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) เป็นหลักฐาน
- บุคคลที่เป็นชาวต่างชาติ แต่มีการยื่นภาษีในประเทศไทย ก็สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีในโครงการ EASY E-Receipt 2.0 ได้
e-Tax Invoice & e-Receipt ต่างกันอย่างไร
e-Tax Invoice และ e-Receipt คือเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานแทนใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินทั่วไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
- e-Tax Invoice คือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยผู้ประกอบการหรือร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากร
- e-Receipt คือ ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยผู้ประกอบการทั่วไปที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ
ทั้งสองเอกสารถูกจัดทำในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และต้องมีการลงลายมือชื่อด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) เพื่อยืนยันความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ผู้ที่ออกเอกสารเหล่านี้ได้ต้องผ่านการอนุมัติจากกรมสรรพากรก่อนเท่านั้น
สินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไข EASY E-Receipt ลดหย่อนภาษี
สำหรับสินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไข EASY E-Receipt 2568 สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 3 หมวดหมู่ ดังนี้
1. สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
การซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) เท่านั้น ไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีแบบกระดาษได้ โดยในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีข้อมูลครบครันดังนี้
- ข้อมูลผู้ขาย
- ชื่อ-นามสกุลของผู้ซื้อ
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (เลขบัตรประชาชน 13 หลัก) ของผู้ซื้อ
- วันที่ รายการ และจำนวนเงินที่ซื้อ
2. สินค้าและบริการที่ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Non-VAT) บางรายการ
การซื้อสินค้าและบริการที่ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Non-VAT) บางรายการ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และ E-Book จากผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสามารถออกใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ที่มีข้อมูลครบครัน ดังนี้
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย
- ชื่อ ยี่ห้อ หรือแบรนด์ของผู้ขาย
- เลขลำดับของเล่มและใบเสร็จรับเงิน
- ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ
- วันเดือนปีที่ออกใบเสร็จรับเงิน
- ชนิด ชื่อ จำนวน และราคาสินค้าที่ซื้อ
3. สินค้าและบริการจากร้านวิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม / สินค้า OTOP
สำหรับสินค้า OTOP หักลดหย่อนภาษี สินค้าและบริการจากวิสาหกิจชุมชนหรือวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีในโครงการ EASY E-Receipt 2.0 จะต้องเป็นสินค้าที่มีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตามมาตรฐานของกรมสรรพากร ซึ่งสินค้านั้นจะเป็นสินค้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็ได้ และจะต้องเข้าหลักเกณฑ์การลงทะเบียนหรือจดทะเบียนต่อไปนี้แล้วเท่านั้น
- สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- สินค้าหรือบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน ที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- สินค้าหรือบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
สินค้าและบริการที่เข้าไม่เงื่อนไข EASY E-Receipt ลดหย่อนภาษี
สำหรับสินค้าและบริการที่ไม่เข้าเงื่อนไข EASY E-Receipt 2.0 แม้ผู้ประกอบการจะสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ได้ก็ตาม มีดังนี้
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อน้ำมัน ก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการโทรศัพท์ และค่าบริการอินเทอร์เน็ต
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ค่าที่พักโรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ หรือค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
- ค่าสินค้าหรือบริการที่มีข้อตกลงให้ใช้งานนอกเหนือจากวันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
- ค่าซื้อทองคำแท่ง
- ค่าซื้อบัตรของขวัญ (Gift Voucher)
- ผักผลไม้ และเนื้อสัตว์สด
- หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ทางการแพทย์
- ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม
FAQs (คำถามยอดนิยม)
EASY E-Receipt ซื้อมือถือได้ไหม?
ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ไอที เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ เช่น iPhone, iPad, Macbook เป็นต้น ที่ซื้อจาก Outlet หรือซื้อจากศูนย์บริการในราคาเต็ม ก็สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้
EASY E-Receipt ซื้อทองได้ไหม?
หากเป็นค่าซื้อทองรูปพรรณ สามารถนำค่ากำเหน็จ (ตามมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) มาลดหย่อนภาษีได้ แต่หากเป็นค่าซื้อทองคำแท่ง จะไม่สามารถนำหักลดหย่อนได้ เนื่องจากทองคำแท่งเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค่าซ่อมรถ หักลดหย่อนได้ไหม?
ได้ หากซ่อมและจ่ายค่าซ่อมระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 และได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice)
EASY E-Receipt ซื้อตั๋วเครื่องบินได้ไหม?
ได้ หากซื้อและเดินทางระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 และได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice)
ลงทะเบียน EASY E-Receipt อย่างไร?
สำหรับร้านค้าที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ EASY E-Receipt 2.0 จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ลงทะเบียนขอใช้ระบบ e-Tax Invoice ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร แล้วกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน รวมถึงแนบเอกสารที่จำเป็น เช่น ทะเบียนการค้า ข้อมูลเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น โดยสามารถลงทะเบียนได้ที่
- e-Tax Invoice by Time Stamp : https://www.rd.go.th/27659.html
- e-Tax Invoice & e-Receipt : https://etax.rd.go.th/
- เลือกใช้โปรแกรมบัญชีที่ได้รับการรับรอบจากกรมสรรพากร เพื่อจัดการเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ติดสัญลักษณ์ e-Tax ในร้านค้าให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าทราบว่า ร้านค้าของคุณสามารถออกเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ได้
ใครบ้างมีสิทธิ์ใช้ EASY E-Receipt?
สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์ใช้ EASY E-Receipt คือ ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
ตรวจสอบสิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ที่ไหน?
หากต้องการตรวจสอบสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2568 สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th) เพื่อตรวจสอบได้ตลอดเวลา
EASY E-Receipt ใช้ที่ไหนได้บ้าง?
เนื่องจากโครงการ EASY E-Receipt 2.0 ได้รับความสนใจอย่างมากในปีนี้ ทำให้มีหลากหลายแบรนด์ชั้นนำ ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์มาเข้าร่วมโครงการ โดยสามารถสังเกตได้จากป้าย EASY E-Receipt หรือป้าย E-TAX ที่อยู่หน้าบริเวณหน้าร้าน สำหรับห้างสรรพสินค้าและร้านค้าในเครือ MBK Group ที่เข้าร่วมโครงการ และสามารถออก e-Tax Invoice ได้มีดังนี้
- MBK Center ค้นหาแบรนด์ชั้นนำและร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้ที่: https://bit.ly/MBK_EasyEReceipt
- Paradise Park ค้นหาแบรนด์ชั้นนำและร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้ที่: https://bit.ly/41SjjCa
- The Nine Center Rama9 ค้นหาแบรนด์ชั้นนำและร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้ที่: https://bit.ly/TNC_EasyE-Receipt
- The Nine Center Tiwanon ค้นหาแบรนด์ชั้นนำและร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้ที่: https://bit.ly/TNCT_EasyE-Receipt
ในส่วนของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ MBK Center ได้รวบรวมมาไว้เป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ดังนี้
อุปกรณ์ไอที
- AIS
- BANANA IT & STUDIO7
- BIG CAMERA
- CASE CLUB
- CSC
- DJI BY BIG CAMERA
- FOTO FILE
- SAMSUNG CUSTOMER SERVICE
- SAMSUNG SHOP
- STUDIO 7
- TG FONE
- TRUE
- Honor Experience Store
- K.ACCESSORIES
อาหารและเครื่องดื่ม
- BLACK CANYON
- BONCHON CHICKEN
- BURGER KING
- CHESTER'S
- HACHIBAN
- KFC
- MC DONALD'S
- MK RESTAURANT
- MO-MO-PARADISE
- Senju Shabu&Sushi Premium Buffet
- SHABUSHI
- SIZZLER
- STARBUCKS
- SWENSEN'S
- YAYOI
- 7-ELEVEN
- TOPS
ร้านแว่นตา
- CLEAR VISION
- แว่นท็อปเจริญ
- Prism : Optical Lab
เครื่องสำอาง
- BOOTS
- CUTE PRESS
- DR.PONG
- EVEANDBOY
- ORIENTAL PRINCESS
- WATSONS
- YVES ROCHER
หนังสือและเครื่องเขียน
- นายอินทร์
เครื่องแต่งกาย
- CROCS
- GQ
- SABINA
- SUPERSPORTS
- WACOAL
EASY E-Receipt มีค่าธรรมเนียมหรือไม่?
ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ EASY E-Receipt 2.0 ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ
ใช้ EASY E-Receipt แล้วต้องเก็บใบเสร็จจริงไหม?
ไม่ต้องเก็บใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จที่เป็นกระดาษ เพราะสามารถใช้ข้อมูลจากใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ที่ร้านค้านั้น ๆ ออกให้ได้
ถ้าซื้อสินค้าออนไลน์จะขอ E-Receipt ได้หรือเปล่า?
หากซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มหรือร้านค้าออนไลน์ที่เข้าร่วมโครงการ EASY E-Receipt 2.0 สามารถขอ e-Receive หรือ e-Tax Invoice ผ่านวิธีที่แพลตฟอร์มนั้น ๆ กำหนดได้
สรุปบทความ
และทั้งหมดนี้ก็คือรายละเอียดของโครงการ EASY E-Receipt 2.0 ซึ่งเป็นมาตรการหักลดหย่อนภาษี 2568 ที่หลาย ๆ คนกำลังจับตามองอยู่ในขณะนี้ สำหรับสาว ๆ ที่มีแพลนจะช้อปลดหย่อนภาษีที่ MBK Center ก็มีแบรนด์เครื่องสำอางและแบรนด์เสื้อผ้ามากมายให้เลือกช้อป ไม่ว่าจะเป็น EVEANDBOY, Watsons, SABINA, WACOAL ฯลฯ
สำหรับหนุ่ม ๆ หรือคุณผู้ชายก็ไม่ต้องน้อยใจไป เพราะยังมีแบรนด์ชั้นนำมากมายให้เลือกช้อปไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น SuperSports, GQ, Guy Laroche ฯลฯ ในส่วนของร้านอาหารเราก็ไม่น้อยหน้า เพราะ MBK Center มีร้านอาหารหลากหลายสัญชาติให้คุณเลือก เช่น MO-MO-PARADISE, Senju Shabu&Sushi Premium Buffet, STARBUCKS, SWENSEN’s ฯลฯ
และนอกจากร้านค้าที่เราได้ยกตัวอย่างไปแล้ว ยังมีร้านค้าอื่น ๆ อีกมากมายที่ให้คุณได้ไปช้อปปิ้งลดหย่อนภาษี 2568 โดยสามารถเยี่ยมชมร้านค้าที่ร่วมโครงการ EASY E-Receiptเพิ่มเติมได้ที่:
- MBK Center: https://bit.ly/MBK_EasyEReceipt
- Paradise Park: https://bit.ly/41SjjCa
- The Nine Center Rama9: https://bit.ly/TNC_EasyE-Receipt
- The Nine Center Tiwanon: https://bit.ly/TNCT_EasyE-Receipt
ช้อปเพลิน รับพอยท์คืน กับ MBK PLUS
คุ้ม 2 ต่อ! มาช้อปลดหย่อนภาษีกับห้างสรรพสินค้าในเครือ MBK Center นอกจากจะสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้แล้ว เรายังมี MBK PLUS คือโปรแกรมสะสมคะแนนสำหรับลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือบริการภายในศูนย์การค้า MBK Center และธุรกิจในเครือ MBK Group เพียงนำใบเสร็จจากร้านค้าที่ร่วมรายการมาสะสมคะแนน แล้วนำคะแนนมาแลกรับส่วนลด คูปอง หรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ ได้มากมาย
- สะสม สุขจุก ๆ: ทุกการช้อปมีแต่ได้ สะสมพอยท์เพื่อรับสิทธิพิเศษมากมายแบบจุก ๆ
- แลก สุขจุก ๆ: ง่ายขึ้น 1 พอยท์ = 1 บาท แลกรับส่วนลดจุก ๆ และความพิเศษทุกไลฟ์สไตล์
- แชร์ สุขจุก ๆ: โอนคะแนนให้เพื่อน แชร์พอยท์ รวมทั้งชวนเพื่อน มาส่งต่อความสุขด้วยกันไม่รู้จบ
ตรวจสอบเงื่อนไขการสะสมคะแนนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mbk-center.co.th/mbkplus/